ไซยาไนด์ (Cyanide) คือ สารเคมีอันตรายที่ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีไซยาไนด์ไอออน (CN-) เป็นองค์ประกอบ สารเคมีกลุ่มนี้มีความเป็นพิษสูงมาก มักพบในรูปของสารประกอบโลหะอัลคาไลด์ที่เป็นของแข็งสีขาว และสารประกอบโลหะหนัก พบได้มากในพืชในรูปของกรดไฮโดรไซยานิค สามารถวิเคราะห์หาได้ในรูปของไซยาไนด์ไอออน สามารถวิเคราะห์หาไซยาไนด์ได้โดยใช้วิธีการกลั่น (Distillation Measurement) เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
ชนิดของไซยาไนด์
1) ไซยาไนด์อิสระ (Free Cyanide)
คือ ไซยาไนด์ในรูปของก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ หรือกรดไซยานิค (HCN) และ ไซยาไนด์ไอออน (CN-) สัดส่วนของกรดไซยานิคต่อไซยาไนด์
2) ไซยาไนด์กับโลหะอัลคาไลน์
เป็นไซยาไนด์ที่รวมกับโลหะอัลคาไลด์ เช่น โพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN), ไทโอไซยาเนต (SCN–) และแอมโมเนียมไซยาไนด์ (NH4CN) เป็นต้น
มีสูตรทั่วไป คือ A(CN)x เมื่อ
A = โลหะอัลคาไลน์
X = จำนวนของไซยาไนด์ไอออน
3) ไซยาไนด์กับโลหะหนัก
เป็นสารประกอบไซยาไนด์กับโลหะหนักชนิดต่าง ๆ โดยไม่มีโลหะอัลคาไลด์เป็นส่วนประกอบ เช่น คอปเปอร์ (II), ไซยาไนด์ (Cu(CN)2), ซิลเวอร์ไซยาไนด์ (AgCN) และซิงค์ไซยาไนด์ (Zn(CN)2) เป็นต้น สารประกอบเหล่านี้ละลายน้ำได้น้อยมาก
❝ ปฏิกิริยาและการย่อยสลาย ไซยาไนด์ไอออนเกิดปฏิกิริยากับสารอื่นได้ดี ได้แก่ ไซยาไนด์ไอออนกับโลหะอัลคาไลด์ เช่น โพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN), ไซยาไนด์ไอออนกับโลหะหนัก เช่น ซิลเวอร์ไซยาไนด์ (AgCN) บางส่วนของสารประกอบจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ หรือถูกออกซิไดส์กลายเป็นไซยาเนต (CNO–) และย่อยสลายต่อทางเคมีจนได้คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย และฟอร์เมท ระเหยสู่อากาศ ❞
แหล่งกําเนิดไซยาไนด์
แหล่งกำเนิดในธรรมชาติ
คาร์บอนและไนโตรเจนเป็นธาตุที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวเรา โดยประมาณ 80% ของอากาศที่เราหายใจ ประกอบไปด้วยธาตุทั้งสอง นอกจากนี้ ธาตุดังกล่าวยังเป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญในโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในธรรมชาติพืชและสัตว์บางชนิดสามารถสังเคราะห์ไซยาไนด์ได้ และใช้เป็นกลไกป้องกันอันตรายจากนักล่าในห่วงโซ่อาหาร แต่สิ่งมีชีวิตจํานวนมากก็สามารถปรับตัวให้ทนต่อไซยาไนด์ หรือขับสารนี้ออกจากร่างกายได้
แหล่งกําเนิดไฮโดรเจนไซยาไนด์ในธรรมชาติจะอยู่ในรูปของสารประกอบที่มีลักษณะคล้ายน้ำตาล ที่เรียกว่า อะมิกดาลิน (Amygdalin) ซึ่งพบได้ในผลไม้ ผัก เมล็ด และถั่วต่าง ๆ เช่น แอปริคอท, พีช, ถั่วงอก, ข้าวโพด, มะมวงหิมพานต์, เชอร์รี, มันฝรั่ง และถั่วเหลือง เป็นต้น
👉 พืชต่าง ๆ เหล่านี้มีไซยาไนด์อยู่ในรูปไซยาโนไกลโคไซด์ต่าง ๆ กัน เช่น ในมันสำปะหลังพบในรูปลินามาริน (Linamarin) และโลทอสตราลิน (Lotaustralin) ร้อยละ 80-90 และที่เหลือพบในรูปของไซยาไนด์อิสระหรือไฮโดรเจนไซยาไนด์ ในขณะที่ในแอบเปิ้ลพบในรูปอะมิกดาลิน (Amygdalin) และพรูนาริน (Prunasin) เป็นต้น ในพืชจะมีเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายไซยาโนไกลโคไซด์ต่าง ๆ เหล่านี้ให้เป็นไฮโดรเจนไซยาไนด์ ซึ่งเป็นพิษต่อศัตรูผู้รุกรานได้ เช่น ในมันสำปะหลังจะมีเอนไซม์ลินามาริเนส (Linamarinase) พบในส่วนต่าง ๆ ของพืช สามารถย่อยลินามารินไปเป็นไฮโดรเจนไซยาไนด์ ซึ่งเป็นพิษ
ปริมาณความเข้มข้นของ ไซยาไนด์ ในพืชต่าง ๆ
วิธีหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับไซยาไนด์ การหลีกเลี่ยงและลดโอกาสในการสัมผัสกับไซยาไนด์ อาจทำได้ ดังนี้
งดสูบบุหรี่
เก็บภาชนะที่บรรจุสารเคมีภายในบ้านให้มิดชิดและเหมาะสม
ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ควรใช้ภาชนะรองรับสารเคมีที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งอาจช่วยให้ได้รับสารพิษน้อยลงหากเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงลดโอกาสการสัมผัสและการสูดดมลงด้วย
ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ไม่ควรนำเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ที่อาจปนเปื้อนไซยาไนด์ออกนอกสถานที่ทำงานหรือนำกลับบ้าน
ติดตั้งเครื่องดักจับควัน เนื่องจากไซยาไนด์อาจมาในรูปแบบของควันได้
สวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งเมื่อต้องทำงานกับสารเคมี หรือต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของไซยาไนด์
ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับสารพิษสูง เช่น เกษตรกร ช่างเหล็ก ช่างทอง พนักงานที่อยู่ในกระบวนการการผลิตกระดาษ สิ่งทอ ยาง และพลาสติก ผู้ที่ทำงานกำจัดแมลง เป็นต้น ควรไปพบแพทย์และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ